ขั้นตอนการผลิตนม

ขั้นตอนการผลิตนมโคแท้จาก All Seasons Dairy ที่คัดสรรนมคุณภาพไว้ให้คุณแล้ว

มี.ค. 20, 2022

A Farmer checking equality of milk

กว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในมือคุณ ทราบหรือไม่ว่านมเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการผลิตใดบ้าง? วันนี้ All Seasons Dairy จะพาไปดูขั้นตอนการผลิตนมโคแท้ว่าต้องผ่านกระบวนการใดบ้างกว่าจะมาเป็นนมพร้อมดื่มคุณภาพสูงที่ให้ประโยชน์อย่างครบถ้วน อยากรู้แล้วใช่ไหม? ไปกันเลย!!!

ขั้นตอนการผลิตนมโคแท้จาก All Seasons Dairy

Keep Fresh milk

นมพร้อมดื่มแต่ละประเภทจะมีกรรมวิธีในการผลิตที่คล้ายคลึงกันกัน โดยกระบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1.การรับและเก็บน้ำนม (Receiving and Storage)

เมื่อโรงงานได้รับน้ำนมดิบ (Raw Milk) จากแม่วัวพันธุ์ดี จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำนมไปตรวจสอบคุณภาพทางด้านต่าง ๆ คือ

  • ตรวจสอบทางกายภาพ จะเป็นการตรวจสอบความผิดปกติด้าน สี กลิ่น และรสของน้ำนม
  • ตรวจสอบทางด้านฟิสิกส์และเคมี เช่น การวิเคราะห์ค่าของไขมัน การตรวจสอบจุดเยือกแข็งหรือค่าถ่วงจำเพาะของนมเพื่อดูว่ามีการปลอมปนน้ำในน้ำนมหรือไม่ การวัดความเป็นกรด-ด่างในน้ำนม การตรวจสอบสารปฏิชีวนะและสารพิษตกค้าง เป็นต้น
  • ตรวจสอบทางจุลินทรีย์ เช่น การตรวจนับจุลินทรีย์ทั้งหมด การตรวจหาโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวชี้ถึงสุขลักษณะของนม เป็นต้น

หลังจากนั้นน้ำนมดิบที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่เรากำหนดจะถูกส่งไปเก็บไว้ในแท็งก์ในอุณหภูมิไม่เกิน 7.2 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

2. การแยกฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำนม (Clarification)

ในขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการกรองหรือใช้แรงเหวี่ยงเพื่อขจัดฝุ่นละออง จุลินทรีย์บางชนิด เซลล์เม็ดเลือดขาว ตลอดจนสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่ปะปนอยู่ในน้ำนมดิบ หากไม่ผ่านขั้นตอนนี้ นมพร้อมดื่มที่ผลิตได้จะมีตะกอนเกิดขึ้นชัดเจน และทำให้ดูไม่น่าบริโภคได้

3. การปรับมาตรฐานมันเนยหรือไขมัน (Standardization)

ขั้นตอนนี้จะเป็นการปรับปริมาณมันเนยหรือไขมันที่อยู่ในนมพร้อมดื่มแต่ละประเภทให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข

4. การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (Thermization Process)

ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต จะมีการนำน้ำนมดิบไปฆ่าเชื้อเบื้องต้นด้วยความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้มีอยู่ในนม เช่น เอนไซม์ไลเปส ที่ทำให้เกิดกลิ่นหืนในนม เป็นต้น ตลอดจนเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มให้ยาวนานขึ้น โดยกระบวนการฆ่าเชื้อจะมี 3 ประเภท คือ

5. กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization)

เป็นกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนด้วยเครื่องพาสเจอร์ไรส์เพื่อทำลายเอนไซม์ต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยอุณหภูมิในการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่ 85 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 15 วินาที จากนั้นลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส สำหรับนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์นี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับน้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ ตลอดจนรสชาติและคุณสมบัตินมจะใกล้เคียงกับน้ำนมตามธรรมชาติมากกว่าวิธีอื่น

6. กระบวนการสเตอริไลส์ (Sterilization)

วิธีนี้สามารถทำลายจุลินทรีย์ ตลอดจนเอนไซม์ทุกชนิดที่อยู่ในนมพร้อมดื่มที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทได้ กรรมวิธีการฆ่าเชื้อนี้ต้องใช้อุณหภูมิ 115-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที แต่วิธีนี้จะทำให้สี กลิ่น รสของนมเปลี่ยนแปลงไป เกิดกลิ่นนมต้มไหม้ (Over Cooked) สีของนมจะออกเหลือง และทำให้วิตามินบางชนิดที่อยู่ในน้ำนมดิบลดลง เช่น โฟลิคแอซิด วิตามินบี 1 และวิตามินซี เป็นต้น

7. กระบวนการยูเอชที (Ultra-High Temperature)

วิธีนี้จะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้เกือบหมด โดยต้องใช้ความร้อนประมาณ 133 องศาเซลเซียส และใช้เวลา 2-3 วินาที สำหรับการฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้ นมพร้อมดื่มที่ได้จะมีกลิ่นและรสที่บริสุทธิ์กว่านมพาสเจอร์ไรส์ เนื่องจากสามารถขจัดกลิ่นอาหารสัตว์ กลิ่นฟางได้ดี นอกจากนี้น้ำนมยังมีสีขาวกว่าอีกด้วย

จากนั้น น้ำนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อจะถูกทำให้เย็นลงอีกครั้งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และนำไปเก็บไว้ในถังพักเพื่อรอเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป

8. การทำให้น้ำนมเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenization)

นมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วจะถูกส่งต่อไปยังเครื่องโฮโมจีไนส์เพื่อทำให้ขนาดอนุภาคของไขมันในน้ำนมมีขนาดเล็กลง คงตัวมากขึ้น และไม่แยกชั้นกันเมื่อตั้งนมทิ้งไว้ โดยใช้ความดันที่ 200 กิโลปาสคาล/ตร.ซม. โดยกฎหมายบังคับให้นมพร้อมดื่มที่ผ่านกระบวนการสเตอริไรส์และยูเอชทีต้องผ่านขั้นตอนนี้

9. การบรรจุ (Packing)

น้ำนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อและการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วจะถูกทำให้เย็นลงที่ 4-5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่าเพื่อรอการบรรจุด้วย 2 วิธี คือ

10. การบรรจุนมพาสเจอร์ไรส์

เริ่มจากการป้อนนมที่ผลิตได้เข้าสู่เครื่องบรรจุอัตโนมัติ จากนั้นนำฟิล์มพลาสติกมาผ่านการซีลให้เป็นถุงโดยใช้ความร้อน จากนั้นป้อนนมลงไปในถุงก่อน และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปากถุงด้วยรังสี UVbก่อนที่จะซีลปิดถุง และตัดออกให้เป็นถุง ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

11. การบรรจุแบบปลอดเชื้อ

เป็นการบรรจุนมยูเอชที ซึ่งทำการบรรจุที่สภาวะปลอดเชื้อด้วยเครื่องบรรจุแบบอัตโนมัติ ซึ่งภาชนะบรรจุจะสามารถป้องกันการซึมผ่านอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้นได้ และขนย้ายเข้าสู่โกดังเพื่อรอตรวจสอบคุณภาพ และรอการจำหน่ายต่อไป

12. การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมเพื่อรอการจำหน่าย (Storage)

การเก็บรักษานมแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ กฎหมายระบุไว้ว่าให้เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียสตลอดระยะเวลาหลังบรรจุจนถึงผู้บริโภคเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดที่ยังอยู่ในนม มิฉะนั้นจะทำให้นมเสียง่าย ส่วนผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีสามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิปกติภายในโกดังสินค้า

13. ขั้นตอนการขนส่งผลิตภัณฑ์ (Transportation)

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วจะถูกขนย้ายไปยังคลังสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป ทั้งนี้ นมพาสเจอร์ไรส์จะถูกนำมาจัดเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิความเย็น (Cold Storage Room) เพื่อรอจัดส่งในความเย็นระดับเดียวกับห้องเย็นที่โรงงานตลอดการเดินทาง

Delivery milk

All Seasons Dairy คัดสรรน้ำนมดิบสดใหม่เสมอ เพื่องส่งตรงนมพร้อมดื่มคุณภาพสู่มือคุณ

นอกจากกระบวนการผลิตนมที่ได้มาตรฐานแล้ว All Seasons Dairy ยังได้ปฏิบัติตามวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารตามแนวทางการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) ควบคู่กันไปด้วย โดยเราให้ความใส่ใจตั้งแต่สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ตลอดจนบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพ ส่งผลให้นมพร้อมดื่ม All Seasons Dairy ที่วางจำหน่ายอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ความสะอาด และปลอดภัยในทุกหยด

สามารถดูรายละเอียดสินค้าผลิตภัณฑ์นมแปรรูปจาก All Season ได้ที่ลิงค์ด้านนี้

ติดตามข่าวสารจาก All Season ได้จากช่องทางดังต่อไปนี้

Website: allseasondairy.com
Facebook: All Season
Instagram: Allseasondairy
Youtube: All Season Dairy
Line: All Season Dairy
Twitter: allseason_official
Tiktok: AllSeasonDairyOfficial

share your friends